Bangkok Airways Public Co., Ltd.hb2泰国展会服务平台
hb2泰国展会服务平台
Bangkok Airways first began air transportation services in 1968—established as "Sahakol Air", it became the first private aviation company in Thailand. Initially, the airline provided charter services by means of its first operational aircraft, "Trade Wind", a two-engine 9-seater plane. Regular charter assignments came from the OICC (an American construction company), USOM, and a number of other organizations, which at the time, were engaging in oil and natural gas exploration in the Gulf of Thailand.hb2泰国展会服务平台
hb2泰国展会服务平台
Due to the rapid growth of tourism and business investments in Thailand, air transportation has become an increasingly important aspect contributing to both the Kingdom's economic growth and its infrastructure development into becoming a major destination capable of hosting several million overseas visitors per year.hb2泰国展会服务平台
hb2泰国展会服务平台
In order to fulfill the increasing demands for air transportation, Bangkok Airways officially began its operations in 1986 as the country's first privately-owned domestic airline; initially offering scheduled flights from Bangkok to Krabi, Korat, and Surin. Presently, Bangkok Airways has obtained permits to operate scheduled flights over 20 different major routes—covering nearly all major resort destinations in Thailand. Additionally, the airline has also obtained permits to fly internationally to Myanmar, Laos, Cambodia, Malaysia, Singapore, India, Bangladesh and Maldives.hb2泰国展会服务平台
hb2泰国展会服务平台
Bangkok Airways has also invested in building and maintaining its own privately-operated airports at Samui, Sukhothai, and Trat. These developments provide Thailand with more air transportation hubs to in order to facilitate increasing air traffic volume.hb2泰国展会服务平台
บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
ปัจจุบันการคมนาคมทางอากาศ ได้เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาการท่องเที่ยวซึ่งกำลังเจริญเติบโตอย่างมาก จนกลายเป็นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ทำรายได้เป็นอันดับหนึ่งของประเทศ
บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2511 ในแผนกการบินสหกลแอร์ ของบริษัท กรุงเทพ สหกล จำกัด โดยประธานคณะผู้บริหาร นายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ซึ่งในระยะแรกได้ดำเนินกิจการเดินอากาศประเภทเช่าเหมาลำ เครื่องบินลำแรกของบริษัทฯ เป็นเครื่องบินแบบ “Trade Wind” 2 เครื่องยนต์ ขนาด 9 ที่นั่งโดยสาร ทำการบินตามสัญญาว่าจ้างจากหน่วยงานก่อสร้างทางทหารของสหรัฐอเมริกา (OICC) ในการก่อสร้างสนามบินอู่ตะเภาและทำการบินโดยเครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์ สนับสนุนการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซในอ่าวไทย
ต่อมาบริษัทฯ ได้นำเข้าเครื่องบิน ISLANDER BN2 เพื่อทำการบินให้กับหน่วยงาน OICC และ USOM เพิ่มเติมนับจากนั้นบริษัทฯ ก็ได้มีการพัฒนาการจัดหาเครื่องบินและธุรกิจการบินมาตลอด โดยการนำเครื่องบินที่มีสมรรถนะการใช้งานดีเข้ามาเสริมการบริการ และเมื่อประเทศไทยเริ่มมีโครงการขุดเจาะน้ำมันในอ่าวไทยจรดทะเลอันดามัน บริษัทฯ ได้รับการว่าจ้างจากบริษัทสำรวจหลายแห่งให้ทำการบินด้วยเครื่องบินและ เฮลิคอปเตอร์ สนับสนุนการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซในอ่าวไทย หลังจากโครงการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติของอ่าวไทยสำเร็จเรียบร้อย บริษัทฯ จึงมีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งได้มีส่วนร่วมในงานครั้งนี้
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้พยายามทุกวิถีทางที่จะดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยยึดหลักการทำงานอย่างรอบคอบ และมีประสิทธิภาพ มีการคำนึงถึงความปลอดภัยขณะทำการบินให้ผู้โดยสารอย่างสูงสุด ซึ่งในแต่ละช่วงปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้นำเครื่องบินแบบต่างๆที่เหมาะสมกับสภาพการใช้งานแต่ละช่วง ตามลำดับดังนี้
ปี พ.ศ. 2511 นำเครื่องบินแบบ “Trade Wind” ทำการบินให้หน่วยงานของสหรัฐ (OICC)
ปี พ.ศ. 2512 นำเครื่องบิน แบบ “ISLANDER BN2” ทำการบินให้หน่วยงานของ OICC
ปี พ.ศ. 2517 นำเครื่องบินแบบ “C-47” เข้ามาทำการบินสนับสนุนการขุดเจาะน้ำมันในอ่าวไทย
ปี พ.ศ. 2518 นำเฮลิคอปเตอร์แบบ “WESSEX-60” ทำการบินสนับสนุนการขุดเจาะน้ำมันในอ่าวไทย
ปี พ.ศ. 2519 นำเครื่องบินแบบ “PIPER NAVAJO CHIEFTAIN” ซึ่งเป็นเครื่องบินขนาดเล็กทันสมัยที่สุดในขณะนั้น ครบถ้วนด้วยอุปกรณ์เครื่องช่วยการบิน เช่น เรดาร์, AUTO PILOT และระบบปรับความดันอากาศ เข้ามาทำการบินในรูปแบบเช่าเหมาลำภายในประเทศ และประเทศใกล้เคียง
ปี พ.ศ. 2521 นำเครื่องบินแบบ “C-46” ทำการบินขนส่งสินค้าและผู้โดยสารทั่วไปในประเทศและประเทศใกล้เคียง
ปี พ.ศ. 2527 นำเครื่องบินแบบ “PILATUS PORTER” และเครื่องบินแบบ “PIPER AZTEC” ทำการบินให้กับสถานทูตสหรัฐอเมริกาในประเทศไทย
นำเครื่องบินแบบ “BANDEIRANTE EMB 111 P2” ขนาด 18 ที่นั่ง เข้ามาให้บริการเพิ่มเติมในเส้นทาง กรุงเทพฯ-หัวหิน
ปี พ.ศ. 2529 นำเครื่องบินแบบ “BANDEIRANTE EMB-110 P1” ขนาด 18 ที่นั่ง เข้ามาทำการบินประจำรับ-ส่งผู้โดยสาร ในเส้นทางที่ทางราชการกำหนดให้ คือเส้นทางบินกรุงเทพฯ-นครราชสีมา สุรินทร์ และ กระบี่
ปี พ.ศ. 2532 นำเครื่องบินแบบ “DASH 8-100” ขนาด 37 ที่นั่ง เข้ามาบินในเส้นทางบินของบริษัทฯ ที่ทางราชการอนุมัติให้ คือ เส้นทางกรุงเทพฯ-สมุย และในปีเดียวกันประมาณเดือนตุลาคม บริษัทฯ ก็ได้นำเครื่องบิน “DASH 8-100” อีก 1 เครื่องเข้ามาทำการบินเสริมในเส้นทางเดิมและเส้นทางกรุงเทพฯ-สมุย-ภูเก็ต และ กรุงเทพฯ- สมุย- หาดใหญ่
ปี พ.ศ. 2533 นำเครื่องบิน “DASH 8-300” ขนาด 56 ที่นั่ง จำนวน 2 ลำ
ปี พ.ศ. 2534 นำเครื่องบินแบบ “DASH 8-300” เข้ามาให้บริการเป็นลำที่ 3
ปี พ.ศ. 2535 นำเครื่องบินกังหันไอพ่น “TURBO JET แบบ FOKKER 100” ขนาด 107 ที่นั่ง เข้ามาให้บริการในเส้นทางกรุงเทพฯ-พนมเปญ
(พฤษภาคม) นำเครื่องบินแบบ “SHORTS SD3-60” ขนาด 36 ที่นั่งมาให้บริการ
(สิงหาคม) นำเครื่องบินแบบ “SHORTS SD3-60” ขนาด 36 ที่นั่งมาให้บริการ
ปี พ.ศ. 2536 นำเครื่องบินไอพ่น “FOKKER –100” ความจุ 107 ที่นั่ง เข้ามาบริการในเส้นทาง กรุงเทพฯ –พนมเปญ
นำเครื่องบิน “DASH 8-300” ขนาด 56 ที่นั่งมาให้บริการเป็นลำที่ 4
ปี พ.ศ. 2537 นำเครื่องบิน “ATR 72-200” ขนาด 70 ที่นั่ง จากประเทศฝรั่งเศส มาให้บริการจำนวน 2 ลำ
ปี พ.ศ. 2538 นำเครื่องบินแบบ “ATR 72-200” ขนาด 70 ที่นั่งมาให้บริการ จำนวน 3 ลำ
ปี พ.ศ. 2539 นำเครื่องบินแบบ “ATR 72-200” ขนาด 70 ที่นั่งมาให้บริการ จำนวน 1 ลำ
ปี พ.ศ. 2540 นำเครื่องบินแบบ “ATR 42-320” ขนาด 46 ที่นั่ง มาให้บริการ จำนวน 1 ลำ
ปี พ.ศ. 2541 นำเครื่องบินแบบ “ATR 72-212” ขนาด 70 ที่นั่ง มาให้บริการ จำนวน 1 ลำ
ปี พ.ศ. 2542 นำเครื่องบินแบบ “ATR 72-212” ขนาด 70 ที่นั่ง มาให้บริการ จำนวน 1 ลำ
ปี พ.ศ. 2543 นำเครื่องบินแบบกังหันไอพ่น TURBO JET แบบ BOEING 717 ขนาด 125 ที่นั่ง มาให้บริการ
ปี พ.ศ. 2544 นำเครื่องบินแบบกังหันไอพ่น TURBO JET แบบ BOEING 717 ขนาด 125 ที่นั่ง มาให้บริการเป็นลำที่ 2
นำเครื่องบินแบบ ATR 72-212 A (ATR 72-500) ขนาด 70 ที่นั่ง มาให้บริการจำนวน 2 ลำ
ปี พ.ศ. 2545 นำเครื่องบินแบบ BOEING 717-200 ขนาด 125 ที่นั่ง เข้ามาให้บริการ จำนวน 2 ลำ
นำเครื่องบินแบบ ATR 72-212 A (ATR 72-500) ขนาด 70 ที่นั่ง มาให้ บริการ จำนวน 2 ลำ
ปี พ.ศ. 2546 นำเครื่องบินแบบ ATR 72-212 A (ATR 72-500) ขนาด 70 ที่นั่ง มาให้บริการ จำนวน 2 ลำ
ปี พ.ศ. 2547 นำเครื่องบินแบบ Airbus 320 ขนาด 162 ที่นั่งมาให้บริการเป็นลำแรกเมื่อวันที่ 22 กันยายน และ ลำที่2 เมื่อเดือนพฤศจิกายน
ปี พ.ศ. 2548 นำเครื่องบินแบบ Airbus 320 ขนาด 162 ที่นั่งมาให้บริการเป็นลำที่ 3 เมื่อเดือนกันยายน
ปี พ.ศ. 2550 นำเครื่องบินแบบ Airbus 319 ขนาด 144 ที่นั่งมาให้บริการเป็นลำแรกเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน
ปี พ.ศ. 2551 นำเครื่องบินแบบ Airbus319 ขนาด 144 ที่นั่งมาให้บริการเป็นลำที่ 2 และ 3 ในเดือน มีนาคม ลำที่ 4 ในเดือน เมษายน และลำที่ 5 ในเดือนพฤศจิกายนนอกจากนี้ยังได้นำเครื่องบิน ATR 72-212 A ขนาด 70 ที่นั่ง มาให้บริการในเดือนเดียวกันอีกด้วย
ปี พ.ศ. 2552 นำเครื่องบินแบบ Airbus 319 ขนาด120 ที่นั่ง (ชั้นธุรกิจ 12 ที่นั่ง) ลำที่ 6 มาให้บริการในเดือนมกราคม และลำที่ 7 ในเดือนพฤษภาคม
ปี พ.ศ. 2554 นำเครื่องบินแบบ Airbus319 ขนาด 144 ที่นั่งมาให้บริการเป็นลำที่ 7 ในเดือนธันวาคม
ปี พ.ศ. 2555 นำเครื่องบินแบบ Airbus319 ขนาด 144 ที่นั่งมาให้บริการเป็นลำที่ 8 ในเดือนมีนาคม
ปี พ.ศ. 2555 นำเครื่องบินแบบ Airbus320 ขนาด 162 ที่นั่งมาให้บริการเป็นลำที่ 4 และ ลำที่ 5 ในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม
ปี พ.ศ. 2556 นำเครื่องบินแบบ Airbus319 ขนาด 144 ที่นั่ง 2 ลำมาให้บริการเป็นลำที่ 9 และ 10
ปี พ.ศ. 2556 นำเครื่องบินแบบ Airbus 320 ขนาด 162 ที่นั่ง 2 ลำมาให้บริการเป็นลำที่ 6 และ 7
ก่อนจะถึงวันนี้ นโยบายการบินของประเทศได้เริ่มเปลี่ยนไป โดยปี พ.ศ. 2527 เป็นจุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่ของบริษัทฯ เมื่อคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้เอกชนสามารถทำการบินได้ในเส้นทางที่สายการบินของรัฐมิได้ทำการบิน และในปี พ.ศ. 2528 บริษัทฯ ได้รับอนุญาตให้ทำการบินประจำภายในประเทศ ในเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา, กรุงเทพฯ-สุรินทร์ และ กรุงเทพฯ-กระบี่ และบริษัทฯ ได้ทำการเปิดเที่ยวบินปฐมฤกษ์ ในวันที่ 20 มกราคม 2529 โดยใช้เครื่องบินแบบ BANDEIRANTE EMB-110 ขนาดความจุ 18 ที่นั่งผู้โดยสาร
ในปัจจุบัน บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) นำเครื่องบิน ATR 72-500 ขนาด 70 ที่นั่ง จำนวน 8 ลำจากประเทศฝรั่งเศส,เครื่องบิน Airbus 320 ขนาด 162 ที่นั่ง จำนวน 7 ลำ และ เครื่องบิน Airbus 319 ขนาด 144 ที่นั่ง จำนวน 2 ลำ Airbus 319 ขนาด 138 ที่นั่งจำนวน 4 ลำและ Airbus 319 ขนาด120 ที่นั่ง (ชั้นธุรกิจ 12 ที่นั่ง) จำนวน 4 ลำให้บริการแก่ผู้โดยสาร
บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด ได้ทำการจดทะเบียนเป็นบริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2556
Parent Company Bangkok Airways Public Company Limited
Founded 1968, as Sahakol Air
1986, as Bangkok Airways
Headquarters Bangkok, Thailand
CEO Dr. Prasert Prasarttong-Osoth
President Capt. Puttipong Prasarttong-Osoth
Operation Base Suvarnabhumi International Airport
Privately-owned Airports Samui Airport (1989)
Sukhothai Airport (1996)
Trat Airport (2002)
IATA Code / ICAO Code PG / BKP
Aircraft Fleet 26
Frequent Flyer Program FlyerBonus, Bangkok Airways
Destinations Domestic : 11
International : 13
Website http://www.bangkokair.com
|